คุณมีวิธีการเก็บเงินอย่างไร

1.ฝากธนาคารไว้
2.ทำบัญชีรายรับ และจ่าย
3.ซื้อของทุกครั้ง ต้องมีบิล หรือใบเซ็ต รับเงิน
4.เวลากดเงินจากเอทีเอ็มใช้ จะกดที่ไม่เกิน 200 บาท
5.ตั้งกติกา จำกัดวงเงินในแต่ละสัปดาห์ที่ใช้
6.ห้ามให้ใครยืม (หากไม่จำเป็นจริงๆ)
7.ประหยัด
8.หาวิธีสร้างรายได้เพิ่มอยู่ตลอดเวลา
9.ไม่หมกมุ่นอยู่กะของฟุ่มเฟือม
10.บอกตัวเองว่ากินเพื่ออยู่ไม่ได้อยู่เพื่อกิน (แต่ไม่ถึงขั้นอดนะ)
11.สรุป ปิดยอดบัญชี รายรับ รายจ่ายทุกครั้งตอนสิ้นเดือน
       ลองทำกันดูนะ

Read more


เรื่องมิสมันนี่ MONEY MATTER




ทิปส์ด่วนชวนออมเงิน

          ในปั้นปลายชีวิตใครๆ ก็อยากมีความสุขการสบายใจ ขณะเดียวกันก็อยากมีสุขภาพทางการเงินที่ดีด้วย ไม่อดอยาก หรือมีเงินไว้ใช้ยามเดือดร้อนและมีไว้ใช้แก้ปัญหาทันท่วงที หากเราเตรียมพร้อมที่จะออมเงินเสียตั้งแต่วันนี้ หรือไม่ใช้เงินให้เกิดประโยชน์งอกเงยเพื่อวันข้างหน้า ก็อาจจะลำบากได้ในอนาคตนะคะ ขอเตือน ดังนั้นมาออมเงินกันตั้งแต่บัดนี้เลยดีกว่า






สมการเงินออมโดยทั่วๆไปคือ

                        รายได้ - ค่าใช้จ่าย  =  เงินออม
แต่สำหรับสาวไหนที่มือรั่ว มือเติบ ได้เงินมาเท่าไรต้องจ่ายให้หมด ควรเขียนสมการออมเงินใหม่ ดังนี้

                        รายได้ - เงินออม  =  รายจ่าย
นั่นก็คือ ให้คำนึงถึงรายได้กับเงินออม ก่อนที่จะคิดจับจ่ายใช้สอยค่ะ

           ถึงเวลาที่คงต้องกลับมาถามว่า แล้วทำไมจึงไม่คิดที่วางแผนออมเงินให้พร้อมใช้ในวัยเกษียณ ซึ่งมีข้อแนะนำในการวางแผนการออมเงินสำหรับคุณสาวๆ ที่อยู่ในวัยทำงานนำไปปฏิบัติในเบื้องต้นกัน ดังนี้

1. สำรวจตัวเอง การออมเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณเป็นในวัตถุประสงค์การออมที่หลายคนให้ความสำคัญ ซึ่งหากถามว่า ควรจะมีเงินออมเท่าไรจึงจะพอ แล้วผู้ที่จะตอบคำถามนี้ได้ดีที่สุด คือ ตัวคุณเอง เพราะต้องสำรวจดูตังเองก่อนว่าตอนนี้อายูเท่าไหร่ สุขภาพเป็นอย่างไร มีนิสัยอย่างไร มีรายได้ต่อเดือนเท่าไหร่ และเป้าหมายที่เราต้องการคืออะไร  อย่างไรก็ตาม มีผู้รู้แนวทางหลายท่านให้แนวทางว่า จำนวนเงินออมไม่ควรน้อยกว่า 10 % ของรายได้ทั้งปีคูณด้วยอายุในขณะนั้นของผู้ออมเงิน

                เงินออมที่คุณควรมี = 10% ของรายได้ทั้งปี  x   อายุ


2. กำหนดเป้าหมายทางการเงิน   การจะวางแผนการออมเงินอย่างมีหลักการ ต้องกำหนดเป้าหมายทางการเงินก่อน ซึ่งตอนนี้เรากำลังพูดถึงการออมเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณ เดือนละเท่าไร แต่ทั้งนี้อย่าลืมว่าการกำหนดเป้าหมายดังกล่าว อาจจะต้องพิจารณาถึงความป็นไปได้ของสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยด้วย เช่น สภาพเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อ เป็นต้น

3.กำหนดกลยุทธ์ให้เงินทำงาน  เมื่อได้เป้าหมายแล้วว่า เราต้องการอะไรขั้นต่อไปคือ จะต้องหากลยุทธ์ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายนั้นให้ได้ซึ่งมีหลายทางเลือกที่เราจะตัดสินใจให้เงินทำงานผ่านทางไหน
 
         ปิดท้ายกันด้วยข้อคิด ที่ไม่ควรลืมเกี่ยวกับการออมเงิน คือ ผู้ออมเงินก่อนมีโอกาสได้ผลตอบแทนมากกว่า แม้จะใช้เวลาการออมเงินและเงินฝากในจำนวนน้อยกว่า พูดง่ายๆ คือ เราสามารถใช้เงินออมที่มีอยู่ทำเงินให้งอกเงยได้นั่นเองค่ะ

Read more


อยากรวยต้องทำอย่างไร !

อยากรวยต้องตั้งสติเก็บสตางค์ (เดี๋ยวนี้)
เริ่มปีใหม่เริ่มต้นด้วยการมอบสิ่งดีๆ ให้กับตัวเองกันดีกว่า
อันดับแรกเริ่มจากการบอกกับตัวเองว่า
ปีใหม่ปีนี้เราจะทำดีถวายในหลวงด้วยการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ตั้งใจทำงาน ยึดพระราชดำรัสของพระองค์เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เริ่มต้นด้วยการดูแลตัวเอง
เรื่องการเก็บออมอย่างมีวินัยและใช้จ่ายอย่างพอเพียง จะเริ่มอย่างไรดี
1. ต้องเก็บก่อนใช้ สร้างวินัยการออมให้ตัวเองก่อน
ยึดหลักเก็บก่อนมีเงินก่อน อย่าอ้างโน่นอ้างนี่ เช่น เงินเดือนแค่นี้จะเก็บได้อย่างไร แค่กินยังไม่อยากจะพอ ท่องไว้เลยว่า
ถ้าเรา คิดจะเก็บเราต้องเก็บได้ มนุษย์เป็นไปตามความคิด ว่าแล้วเดือนนี้เงินเดือนออกมาปุ๊บเก็บปั๊บ เก็บก่อนใช้จะเก็บได้ อย่าลืมไปเปิดบัญชีฝากประจำชนิดที่ไม่ต้องเสียภาษีระยะเวลา 2 ปี
ฝากเท่าๆ กันทุกเดือน (ตั้งแต่ 1,000 ถึงสูงสุด….ต่อเดือน) และที่สำคัญ บัญชีที่จะเก็บเงินต้องไม่มีบัตรเอทีเอ็ม ใจต้องเข้มแข็งไว้เราจึงจะเก็บเงินได้ นึกถึงช่วงที่ไม่มีเงินหน้าจะแห้งท้องจะหิว เพื่อนฝูงก็เมิน
2. ต้องมีกติกาในการใช้บัตรเครดิตและใช้อย่างชาญฉลาด พกทีละใบใช้ทีละใบ อย่าลืมว่าการใช้บัตรเครดิตคือ การใช้เงินอนาคต ส่วนมากคนที่รูดบัตรเครดิตอย่างไม่คิดชีวิตจะมีอายุประมาณ 20 กว่าๆ และชอบชำระขั้นต่ำทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยค่อนข้างสูง กำหนดวงเงินในการใช้บัตรเครดิตแต่ละเดือน
เมื่อรวมกับการใช้จ่ายทั่วไป ไม่ควรเกินวงเงินการใช้จ่ายในแต่ละเดือนของเรา จะได้ไม่มีปัญหาในเดือนถัดไป เมื่อใช้บัตรแล้วทุกเดือนควรชำระให้เต็มตามยอดหนี้ และชำระให้ตรงตามระยะเวลาจะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยที่แพงหูฉี่
3. กำหนดกติกาในการเดินห้างสรรพสินค้า ต้องยอมรับว่าในห้างสรรพสินค้ามีสิ่งล่อตาล่อใจค่อนข้างมาก
แม้เราจะตั้งใจมั่นอย่างไรก็ตาม แต่สุดท้าย ก็พ่ายแพ้กิเลส เพราะฉะนั้นอาจสร้างกติกากับตัวเองในการเดินห้างสรรพสินค้า เดือนละครั้ง เพื่อไปเปิดหูเปิดตาบ้าง แต่ก็ควรเตือนตัวเองด้วยว่าอะไรควรซื้ออะไรไม่ควรซื้อ หากจำเป็นต้องซื้อของใช้ในบ้านก็ควรจดรายการไปให้เรียบร้อย
4. เริ่มจดบัญชีรายรับ-รายการใช้จ่าย การจดรายการใช้จ่ายจะช่วยให้เรารู้ว่าอะไรควรใช้อะไรไม่ควรใช้ เริ่มปีใหม่เริ่มทำเลย จะช่วยให้เรามีวินัยในการใช้จ่ายและรู้สถานะการเงินของเราตลอดเวลา แบ่งเป็นช่องรายรับ และรายจ่ายจะได้รู้ว่าตอนนี้ติดลบแล้วหรือยัง นอกจากนั้น จะช่วยให้เราเก็บเงินได้ด้วย
5. นึกถึงชีวิตยามเกษียณไว้เสมอ
วันเวลาไม่เคยคอยใครเคลื่อนไปทุกวัน เผลอแป๊บเดียวอายุเข้าหลักสี่แล้ว เหลียวมองเงินที่เก็บยังไม่พอกินข้าว 3 มื้อหลังเกษียณเลย อย่าให้เป็นเช่นนั้น ต้องตระหนักถึงชีวิตหลังเกษียณไว้เสมอ
เราต้องมีชีวิตหลังเกษียณอย่างสุขสบาย
เพราะฉะนั้น เริ่มเก็บตั้งแต่อายุยังน้อย จะได้ไม่ต้องเหนื่อยทำงานหนักยามอายุมาก
เปลี่ยนความคิดเป็นความตั้งใจ เปลี่ยนความตั้งใจเป็นการกระทำ เริ่มต้นปีใหม่ด้วยการเก็บออมอย่างเป็นระบบ
ทบทวนชีวิตในปีที่ผ่านมา เราทำอะไรไปบ้าง
อะไรที่ดีก็ทำต่อไป อะไรที่ไม่ดี ลด ละ เลิก
ปีนี้เริ่มต้นกันใหม่ทำสิ่งดีๆ เพื่อตนเอง เพื่อสังคม เพื่อประเทศชาติ เดินตามรอยพ่อหลวงของปวงชนชาวไทยเพื่อชีวิตที่ผาสุกในอนาคต ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเริ่มต้น
คัดลอกจาก http://women.sanook.com/work/www/www_47046.php
เคยนึกแปลกใจไหมว่า ทำงานมาตั้งหลายปีแล้ว แต่ทำไมไม่มีเงินเก็บเลย คิดว่าโรคนี้คงเป็นโรคประจำตัวของมนุษย์เงินเดือนหลายๆ ท่าน คนเรามีเวลาทำงานเต็มที่ไม่น่าเกิน 40 ปี
และหลังจากนั้นคงใช้ชีวิตหลังเกษียณอีกประมาณ 20 ปี คิดแค่นี้ก็หนาวแล้ว
หากทำงานไปเรื่อยๆ จนเกษียณแล้วไม่มีเงินเหลือเลย จะทำอย่างไรดี คิดง่ายๆ แค่หลังเกษียณมีข้าวกินให้ครบ 3 มื้อๆ ละ 100 บาท
เราก็ต้องมีเงินเก็บประมาณ 2,910,000 บาทแล้ว
ถ้าไม่เริ่มเก็บตั้งแต่เริ่มทำงานใหม่ๆ ก็มีหวังอดมื้อกินมื้อแน่นอน นี่ยังไม่รวมค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยนะ

Read more


วิธีเก็บเงินหรือออมแบบง่าย ๆ สไตล์คนไม่เคยลงทุน

            ปกติถ้านึกถึงการออมเงิน เราทุกคนก็ต้องคิดถึงเรื่องการฝากธนาคารกันทั้งนั้น แต่ความจริงแล้วก็ยังพอมีวิธีการอื่น ๆ อีก ที่จะช่วยเราเก็บเงินหรือออมเงินได้ง่าย ๆ ไม่แพ้การฝากธนาคาร มาเริ่มกันเลยดีกว่า



1. ซื้อทองสะสม แทนการเก็บเงิน
วิธีนี้เคยอ่านเจอมาว่า บางคนเก็บเงินได้แต่ละเดือน ก็เอาไปซื้อทองรูปพรรณอาจจะเป็นสร้อยคอ ครั้งละสลึง สองสลึง แต่ถ้าเป็นเดี๋ยวนี้ก็อาจจะยากหน่อย เพราะราคาทองแพงขึ้น อาจจะต้องเก็บเงินถึง 2 เดือนก่อนค่อยไปซื้อทองมาเก็บได้         

             ข้อดี คือ
1. ความสุขทางใจส่วนหนึ่ง เพราะซื้อมาเป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ อยากจะใส่ก็เอามาใส่ ได้ความพึงพอใจไปอีกรูปแบบ
2.
ทองคำมีสภาพคล่องน้อยกว่าเงินสด เพราะฉะนั้นเวลาอยากได้เงินต้องเอาไปขาย ก็อาจจะทำให้ลำบากนิดหน่อย  ทำให้ไม่อยาก
      ขาย สุดท้ายก็กลายเป็นสมบัติในกรุไปในที่สุด
3.
ช่วงนี้ทองราคาเพิ่มสูงขึ้น ก็อาจจะเถือว่าเป็นการเก็งกำไรไปในตัว ซื้อมาถูกก็เอาไปขายตอนราคาแพง ได้ส่วนต่างมานิด ๆ 
      หน่อย ๆ พอให้ชุ่มชื่นหัวใจ แต่ถ้าราคาตกก็เก็บไว้เป็นของขวัญลูกหลานก็ได้

2.
การเล่นแชร์
บางคนอ่านแล้วอาจจะไม่เห็นด้วย แต่ถ้าเราสามารถเลือกท้าวแชร์ที่ไว้ใจได้ มีหลักฐานแน่นอน ไม่เบี้ยว เราว่าก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ อย่างเราก็เล่นเหมือนกัน วงเล็ก ๆ ไม่ใหญ่มาก 17 มือ มือละ 1000 บาท อดทนรอจนเป็นบ๊วย ได้ดอกมาประมาณ 2800 บาท ลองคิดเล่น ๆ ดู คิดเป็นดอกเบี้ย 11.6% ต่อปีเชียวนะ คิดดูซิธนาคารยังให้ดอกเบี้ยไม่เท่านี้เลย
            แต่ข้อเสีย คือ
1. อาจจะโดนโกง เชิดเงินหนีไปได้
2.
เล่นได้วงเงินน้อย ๆ (เท่าที่เราเคยเจอวงที่ลงเงินมากสุดก็วงละ 20 มือ มือละ 5000 บาทล่ะ)
3.
ต้องรอเวลาหน่อย เปียมือสุดท้าย หรือเกือบสุดท้ายถึงจะได้ดอกเบี้ยเยอะ แต่ถ้าเปียก่อนก็ต้องเสียดอกเยอะเหมือนกัน (แต่ถ้าคิดว่า
      มันเป็นเงินเก็บเราก็ย่อมจะรอได้อยู่แล้วใช่ไหม เพราะงั้นข้อนี้ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร)

3.
ซื้อสลากออมสิน สลาก ธกส.
อันนี้ไม่ได้ยุยงส่งเสริมให้เล่นการพนันอะไรนะ แต่เราว่ามันก็เหมือนซื้อพันธบัตรรัฐบาลแหล่ะ เพียงแต่มีโอกาสลุ้นรับรางวัล ถ้าถูกนะ แต่ถ้าไม่ถูกก็ได้เงินต้นที่ซื้อไปพร้อมกับดอกเบี้ยติดไม้ ติดมือ มานิดหน่อย หรือบางทีถ้ามีเงินมากพอ อย่างสลากออมสินซื้อไปเลย 500,000 บาทจะถูกรางวัลเลขท้ายทุกงวด ก็ได้เงินเพิ่มมูลค่าดอกเบี้ยเพิ่มมาอีก  หรือถ้าโชคดี ถูกรางวัลใหญ่ก็จะได้เงินรางวัลเพิ่มมาเป็นก้อนอีก แต่ข้อเสียของเจ้าสลากพวกนี้มักจะมีระยะเวลาไถ่ถอนตายตัวว่ากี่ปี เพราะฉะนั้นหากอยากใช้เงินก่อน แล้วถอนมาก็จะถูกหักค่าธรรมเนียม เงินต้นก็จะหายไปบ้าง แต่อย่างที่บอกว่าเราตั้งใจจะเก็บออม เพราะฉะนั้นเรื่องพวกนี้ไม่น่าจะมีปัญหาต่อการออมของเราได้ และข้อเสียอีกอย่างคือ ดอกเบี้ยที่ได้ก็ค่อนข้างน้อย แต่ก็ยังมากกว่าออมทรัพย์นะ

4.
ฝากประจำแบบปลอดภาษี
อันนี้เรา ๆ ท่าน ๆ น่าจะคุ้นเคยกันดี มันเป็นฝากประจำอีกประเภท อาจจะกำหนดไว้ว่า 12 หรือ 24 เดือน โดยต้องนำเงินไปเข้าทุก ๆ เดือนเป็นจำนวนเท่า ๆ กัน แต่สิทธิประโยชน์ที่จะได้คือ ดอกเบี้ยจะสูงกว่าฝากประจำทั่วไป และดอกเบี้ยที่ได้ไม่ต้องหักภาษี 15% ซึ่งเราก็จะได้ดอกเบี้ยเต็ม ๆ โดย 1 คนสามารถมีบัญชีแบบนี้ได้คนละ 1 บัญชีเท่านั้น ซึ่งฝากแบบนี้เราค่อนข้างสนับสนุน เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างวินัยในการออมแล้ว ดอกเบี้ยก็ได้แบบเต็ม ๆ แถมได้ดีกว่าประจำทั่วไปอีก แรก ๆ เพื่อน ๆ อาจจะรู้สึกเหมือนเงินไม่พอใช้ แต่ยังไงก็ถอนออกมาไม่ได้ เพราะถ้าถอนออกมาก็จะต้องได้ดอกเบี้ยออมทรัพย์ปกติ ทำไปได้สักพัก เชื่อเราซิสัก 5-6 เดือน เดี๋ยวก็จะเริ่มชิน ทีนี้จะเริ่มงกแล้ว เพราะตัวเลขมันจะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย
          นี่ก็เป็นแค่วิธีเบื้องต้น อาจจะไม่ได้ทำให้มีเงินงอกเงยออกมาเยอะแยะ แต่ว่ามันก็ช่วยทำให้เราเก็บออมได้มากขึ้น หลายวิธีมากขึ้น ส่วนเรื่องการลงทุนเราถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องศึกษา เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง เราอาจจะเป็นพวกอนุรักษ์นิยม เพราะฉะนั้น เราก็จะหาวิธีออมที่ไม่หวือหวาอะไรมากมาย แต่ก็เป็นประโยชน์ในการเก็บเงินให้ได้เป็นกอบเป็นกำก่อน เรื่องลงทุนค่อยว่ากันต่อไป

Read more


วิธี การเก็บเงินแบบง่ายๆ


เงินแต่ละบาท กว่าจะหามาได้ ปาดเหงื่อไม่รู้กี่รอบ  ได้มาแล้ว ต้องเก็บรักษาให้อยู่กับเรานาน เก็บไว้ใช้ยามจำเป็น
1. เริ่มเก็บเงินวันนี้
อ่านหน้านี้จบ เดินไปหยอดกระปุกเลย  แค่ 10 บาท ก็ถือเป็นนิมิตหมายอันดี แต่ที่สำคัญ เริ่มเสียแต่เดี๋ยวนี้

2. เงินออม = บิล รักษาวินัย
เอาเงินเข้าบัญชีเงินออม เหมือนเวลาที่คุณต้องไปจ่ายบิล แค่นี้ คุณก็จะมีเงินออมเข้าทุกเดือน

3. หากล่องออมสิน ซองใส่เงิน กระเป๋าเศษตังค์
 แล้วหยอดเงินจำนวนเท่าเดิม เป็นเวลาเท่าๆกันทุกวัน
เช่น 10 บาท ทุกๆวัน หรือ ทุกๆวันเสาร์ และอย่าไปนับ อย่าไปใช้ (แนะให้เป็น กระปุกออมสินแบบ ไม่มีรูแงะ จะดีที่สุด )

4. ตกเย็นกลับถึงบ้าน เทกระเป๋า
เทเอาเศษเหรียญลงในกระปุกให้หมด อย่าดูถูกเหรียญบาท เพราะ 100 เหรียญ   ก็เท่ากับ แบงก์ ร้อย หนึ่งใบนะ

5. เก็บแบงค์ใหญ่ไว้ให้ติดกระเป๋า
จ่ายแบงค์ย่อยๆให้หมดก่อน พอจบวัน เก็บแบงค์ที่เหลือลงกระปุก

6. จ่ายหนี้ให้หมด
นี่คือหน้าที่สำคัญที่คุณต้องทำให้เสร็จ  ถ้าคิดจะร่ำรวยในอนาคต

7. ถ้าเปลี่ยนโปรโมชั่นมือถือใหม่
ให้ได้ราคาดีกว่าเดิม หรือถูกกว่าเดิม  ให้เก็บเงินที่เป็นส่วนต่างเข้าบัญชีเงินเก็บ

8. ใช้บัตรห้างสรรพสินค้า ลดราคา
ถึงจะแค่ 5% แต่ก็เงินนะจ๊ะ

9. เก็บเงินคืนจากหักภาษี
พอได้คืน อย่าเอาไปใช้ เอาเข้าบัญชีเงินออมซะ

10. ถ้าคุณใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัย
ลองดูรายการแลกของรางวัล ที่แลกเป็นบัตรเงินสดได้

11. เวลาที่คุณคืนหนังสือ หรือหนังเช่าตรงเวลา
ให้เก็บค่าปรับที่เราต้องจ่าย (ในกรณีคืนช้า) ให้ตัวเอง ดีกว่าแบ่งให้คนอื่นรวยนะ

12. แบ่งเงินไปลงทุน ในกองทุนรวม   ซื้อพันธบัตรรัฐบาล  หรือซื้อหุ้นบ้าง
(การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรใช้วิจารณญาณ)  ดอกเบี้ยดีๆ เก็บไว้ใช้ยามแก่

13. เก็บเงินเพื่อครอบครัว
คุณจะได้รู้สึกว่า มีภาระที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น  เมื่อเก็บได้ถึงเป้า ก็แบ่งเงินส่วนหนึ่ง
พาที่บ้านไปเที่ยวบ้าง แต่ไม่ต้องแพงนะ

Read more


ก้าวแรกสู่เงินล้าน

        สิ่งที่คุณต้องมี
                   1.ทัศนคติแห่งความเป็นไปได้ จงบอกตัวเองอย่างเชื่อมั่นว่า ฉันมีสิทธิ์มีเงินล้าน เลิกมองเงินล้านเป็นเรื่องเพ้อฝัน คุณล้มเหลวแน่ถ้าคุณคิดว่ามันเกินเอื้อม ทาสของเงินชอบคิดแบบนั้น คุณไม่ได้เป็นทาสของเงิน คุณเป็นนายของมัน
                     2. ความรักและศรัทธาในตัวเอง จงศรัทธาตัวเองเสมอ วาดภาพตัวเองในฐานะที่มั่นคงมีความมั่นคงในชีวิตอยู่ในบ้านที่คุณอยากอยู่ ล้อมรอบด้วยคนที่คุณอยากอยู่ด้วย แล้วทุ่มเทพลังทำมันให้เป็นจริง
                     3. คาวมกล้าหาญที่จะลงมือ จงคิดเป้าหมายของคุณเองเป็นอันอับหนึ่ง แล้วกล้าพอที่จะจ่ายให้ตัวเองก่อนเสมอ เช่นเมื่อเงินเดือนออก ให้ตัดเงินก้อนหนึ่งเก็บเข้าบัญชีคุณก่อน จากนั้นค่อยบริหารเงินที่เหลืออยู่ ทำแบบนี้จนเป็นนิสัย
                      4. ความรักที่จะลงทุน ลงทุนอย่างฉลาด ด้วยปรัชญา ไม่ต้องมาก ไม่ต้องเสี่ยง คุณควรศึกษาหาความรู้ในเรื่องการลงทุนที่เหมาะสมกับคุณ แล้วแบ่งเงินส่วนหนึ่งมาลงทุน จะช่วยเร่งระยะเวลาไปสู่เป้าหมายเงินล้านให้เร็วขึ้นมากๆ

        ห้าศัตรูที่คุณต้องจำกัด
                  ศัตรูที่ว่านี้ คือนิสัยที่ไม่ดี บางอย่างในตัวคุณ
         1. นิสัยที่ไม่เอาจริงเอาจัง
         2. นิสัยผัดวันประกันพรุ่ง
         3. นิสัยรักตัวเองในทางที่ผิด
         4. นิสัยเกลียดการเรียนรู้
         5. นิสัยใจอ่อน
  หากคุณอยากมีบั้นปลายชีวิตที่สุขสบายพอควร วินินัยทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญมาก จงปฏิบัติตามสิ่งที่คุณกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

Read more


คุณเป็นนักใช้เงินประเภทไหน

เงินกับอารมณ์
    เราทุกคนมี อารมณ์ กับเงินไม่เหมือนกัน ต่อให้คุณอ่านหนังสือเล่มนี้เหมือนกัน แต่ถ้าให้คุณเติมคำตอบในช่องว่าง " ถ้าฉันรวยล้นฟ้าฉันจะเอาเงินไป....." คงไม่มีใครตอบเหมือนกันสักคน
       คุณผู้หญิงเสื้อฟ้าหน้าตาเคร่งขรึมอาจตอบว่า" ฉันจะเอาเงินไปลงทุนเปิดร้านดอกไม้ เบื่องานเต็มแก่แล้ว"
        คุณผู้ชายหนวดงามคาบไปป์อาจตอบว่า" ผมจะพาเมมีไปมาเก๊า หนีบอีหนูไปนั่งเล่นแบล๊คแจ๊คยันรุ่งเช้าเลย"
         ขณะที่น้องหนูหน้าใสนุ่งยีนส์เอวต่ำอาจตอบว่า" หนูจะซื้อบ้านให้พ่อกับแม่สักหลัง แล้วซื้ออีกหลังติดกันให้ตัวหนูกับน้องสาว จะได้เลยเช่าสักที"
   สามคนตอบคนล่ะความคิด แต่ถ้าสังเกตดีๆ คุณจะเห็นอะไรบางอย่างที่แฝงในคำตอบของทุกคน
           ใช่แล้ว "อารมณ์ฝังลึก" ที่แต่ละคนมีอยู่กับเงิน

อดีตของเรา ปัจจุบันของเงิน
      ฝันที่วาดไว้ของมนุษย์แต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน บางคนต้องการแค่ความรัก บางคนต้องการความมั่งคง บางคนคึดถึงแต่คนรอบข้าง บางคนต้องการอิสรภาพ ขณะที่บางคนยังปวดร้าวกับอดีต
   เราทกุคนมีอดีตที่ต่างกัน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หล่อหลอมให้เราทุกคนมีบุคคลิกทางการเงิน ของตัวเองที่ต่างกัน
    ก่อนที่คุณจะเก็บเงินคุณจึงต้องรู้จักอารมณ์ ของคุณที่มีต่อเงินเสียก่อน เพราะอารมณ์เหล่านี้อาจส่งผลต่อความสำเร็จในการเก็บเงินของคุณอย่างมาก

ความรู้สึกของคุณกับเงิน
              ถ้าใครสักคนถามคุณว่า " บอกหน่อยสิว่า อะไรคือความกังวลที่สุดของคุณในตอนนี้"
       คำตอบของคุณคืออะไร
            " ฉันกลัวว่าฉันจะต้องอยู่คนเดียวอย่างลำบากตอนแก่"
            " ตอนนี้ผมก็สบายดีอยู่แล้ว แต่มันคงไม่ได้เป็นแบบนี้ตลอด"
        บอกตรงๆ เวลาคุยกันเรื่องเงิน ฉันไม่รู้เรื่องเลย ฉันพยายามที่จะเงี่ยหูฟังแล้วนะ แต่ยิ่งฟังมันยิ่งมึน รู้ว่ามันสำคัญแต่ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเริ่มยังไงดี เรื่องเงินนี่ยากนะฉันว่า
        คำตอบเหล่านี้สะท้อนความรู้สึกของผู้ตอบที่มีต่องเงินได้ชัดเจน
        แต่มันสำคัญอย่างไรหรือ เจ้า " ความรู้สึกที่มีต่อเงิน " ของเรา
        ความตอบคือ เมื่อเรารู้ว่าเงินมีความหมายอย่างไรต่อเรา เราจะรู้ว่าทำไมเราถึงปฎิบัติต่อเงินเช่นที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
          ความรู้สึกของเราที่มีต่อเงิน คือกรอบที่กำหนดรูปแบบการใช้เงินทุกวันของเรา กำหนดระดับความเสี่ยงของเราต่อการลงทุน กำหนดเป้าหมายของเราในการเก็บเงิน
       ถ้าคุณพบว่าตัวคุณเองมีปัญหาเรื้อรังกับเงิน คุณพบว่าตัวเองไม่มีวินัยในการใช้เงินพบว่าคุณลงทุนพลาดเสมอ หรือพบว่าคุณหวาดกลัวที่จะใช้เงิน ถึงเวลาที่คุณจะสละเวลาอันมีค่าของคุณแล้วพิจารณาตัวคุณเอง ว่าที่แท้แล้ว คุณรู้สึกกับเงินอย่างไรกันแน่  เมื่อลองจัดประเภทแล้ว เขาสามารถจัดลูกค้าทั้งหมดได้ 6 ประเภทใหญ่ๆ จากสไตล์การใช้เงิน
              1. นักใช้เงินประเภท " ช่างมันฉันไม่แคร์ " คุณทำท่าว่า "ฉันไม่แคร์" ที่แท้คุณเป็น ทาสของเงิน อย่างน่าสงสารที่สุด คุณไม่เพียงควบคุมเงินไม่ได้ แต่ยังเผลอยอมให้เงินเป็นนายของคุณ บ่อยครั้งที่เงินทำให้คุณทั้งอึ้ง อายและกลัว แต่แทนที่จะยอมรับว่าควบคุมเงินไม่อยู่ คุณกลับเอาชีวิตรอดแบบแถๆ ด้วยการหลอกตัวเองว่า ช่างมันฉันไม่แคร์
              2. นักใช้เงินประเภท " ตะกายดาว" เป็นพวกอยากยกระดับฐานะ ชีวิตคือการแข่งขันและความฝันคือการอยู่เหนือคนอื่น คุณต้องได้ในสิ่งที่อยากได้ แม้จะต้องเหน็ดเหนื่อยดิ้นรนปานใดคุณก็ไม่หวั่น
     คุณไม่เพียงทุ่มเทพลังแรงกล้าที่จะประสบความสำเร็จ แต่ยังทุ่มเทเงินทองเพื่อสร้างภาพพจน์ของผู้ประสบความสำเร็จด้วย อนาคตคุณอาจกลายเป็นโคบาลที่สวมหมวกสวยใบใหญ่แต่ไม่มีวัวเหลือเลย
              3. นักใช้เงินประเภท " เสพติดหนี้ " คุณเป็นพวกไม่มีเป้าหมายชีวิต เสพติดการใช้จ่าย คุณอ่อนแอเกินกว่าจะยอมรับว่าคุณกำลังจะถังแตก คุณแก้ไขปัญหาแบขายผ้าเอาหน้ารอด คุณกำลังกดหัวตัวเองจมน้ำลงไปเรื่อยๆ คุณต้องการความช่วยเหลือด่วน ถ้ายังไม่อยากขาดใจตายใต้โคลนดูด
              4. นักใช้เงินประเภท " ชมรมขนหัวลุก " คุณกลัวความไม่มั่นคงคงจนขนหัวลุก คุณจึงคิดคำนวณค่าใช้จ่ายทุกบาททุกสตางค์อย่างถี่ยิบ คนกลุ่มนี้ ถึงจะมีหนี้สินเยอะ แต่โอกาสที่พวกเขาจะได้เงินก้อนโตจากการเสี่ยงก็ยากไม่แพ้กัน
              5. นักใช้เงินประเภท " รถไฟเหาะ " คุณเป็นประเภทคิดถึงความมั่นคงเป็นหลัก และโชคดีที่คุณมีมันสำเร็จ
              6. นักใช้เงินประเภท " ชีวิตคือการพนัน " ชีวิตคือการพนัน ไม่ได้ก็ต้องเสีย คือปรัชญาชีวิต
ของกล่มนี้ ที่มักรวมเอาบรรดาผู้ประกอบการ ประเภท หมูไม่กลัวน้ำร้อน ไว้ด้วย
 คนกลุ่มนี้คิดว่าตัวเองเก่ง ฉลาด เร็ว รู้ทัน ไม่มีทางล้มเหลวและมั่นใจว่ายังไงก็ต้องได้ผลแน่ๆ

Read more


ถ้าคุณมีเงินหนึ่งล้านบาท คุณจะทำอะไรกับมัน

ถ้าคุณมีเงินหนึ่งล้านบาท คุณจะทำอะไรกับมัน
-          ไปโรงพยาบาล เพราะความดันคงพุ่งสูงปรี๊ดด้วยความช็อค
-           มีความสุขมากใช่ไหม ได้ตั้งคำถามอีเดียตทำนองนี้
-          ไม่ทำอะไร บังเอิญของที่อยากได้ราคามันมากกว่านี้
-          ทิ้งขยะ เพราะมันแค่เรื่องสมมุติ
-          เอาเงิน 1 ล้านบาท ให้เจ้าของกระทู้ คุณจะได้เลิกคิดฟุ้งซ่าน มาถามคำถามอะไรที่เป็นไปไม่ได้ น่ารำคาญจัง
ใครๆก็คงเดาได้ เจ้าของคำตอบทั้งห้ารายนี้ คงยังไม่มีเงินล้านในบัญชีแน่นอน
และด้วยทัศนคติเช่นข้างบนนี้ คุณคิดว่า พวกเขามีโอกาสที่จะมีมันไหม
มีผู้คนจำนวนมาก ยอมจำนนกับความคิดที่จะรวย พวกเขาไม่เพียงพอเชื่อฝังลึกว่ามันเป็นความฝันที่เกินเอื้อม แต่ยังคิดว่าคำถามทำนองนี้เป็นเรื่องตลกตกขอบ
พวกเขารู้สึกว่าการมีเงินล้านนั้นเป็นเรื่อง บ้าแล้วเพราะมันสุดแสนจะเป็นไปไม่ได้
ยกเว้นว่าบังเอิญ...................
1 .ถูกล็อตเตอรี่
2. ได้มรดกแบบไม่คาดฝัน
3. ชนะเกมโชว์
                ทัศนคติ ความรวยกับฉันคือเส้นขนาน นี่เองที่ทำให้คนจำนวนมาก ไม่ยอมรวยสักที และพวกเขาก็จะลงเอยด้วยการกอดกันอยู่ในกลู่มเจ้าของหกสิบล้านบัญชีที่มีเงินไม่ถึงล้าน
คุณล่ะ อยากอยู่ในกลุ่มนี้ไปชั่วชีวิตไหม

                 ที่มา: จากหนังสือ เขาเก็บเงินกันอย่างไร ได้เป็นล้าน ผู้เขียน อมิตา อริยอัชฌา

Read more


เก็บเงินให้รวย-ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร

" หาได้มากน้อยเท่าไรไม่สำคัญ จ่ายมากน้อยเท่าไรเป็นเรื่องสำคัญกว่า คือต้องใช้ให้น้อยกว่าที่หาได้ "
   1. การเพิ่มรายได้ ควรหลีกเลี่ยงการเป็นมนุษย์เงินเดือน เพราะเป็นผู้ประกอบการจะรวยเร็วกว่า และเชื่อว่าคนที่ทำงานเก่งสำคัญกว่าคนที่เรียนเก่ง แต่ไม่ได้สนับสนุนให้ทิ้งการเรียน ควรมีการเรียนรู้ต่อเนื่อง
   2. สอนลูกให้เป็นผู้ประกอบการ โดยสอนให้มีพื้นฐานและประสบการณ์ ในการทำงานตั้งแต่เด็กๆ
   3. เคล็ดลับการออมเงิน ควบคุมรายจ่ายถ้าอยากเก็บเงิน ระวังเรื่องค้ำประกัน และการให้กู้ยืม เพรา การให้เพื่อนยืมเงินท่านจะเสียเงิน เสียเพื่อนและในที่สุดก็เสียใจ
   4.บริหารเงินออมของครอบครัว สร้างฐานะของครอบครัวลงทุนอย่างชาญฉลาดโดยการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงและพิ่มดอกผลจากเงินออม
   5.การประหยัดภาษี
   6.มาลดภาษีกับกองทุน RMF
   7.สอนลูกให้รวยน้ำใจ
   8. จัดการเรื่องค่าใช้จ่าย หนี้สินบัตรเครดิต
   9. ช่วยกันออมและลงทุน
   10.ลงทุนให้ได้ดอกผลงาม

Read more


มาปลูกนิสัยการออมเงินกันตั้งแต่วันนี้

เราสามารถสร้างนิสัยในออมได้ตั้งแต่เด็ก เพื่อเป็นการศึกษาให้ลูก การทำกองทุนการศึกษาให้ลูกเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่จำนวนเงินที่ลูกจะได้รับอย่างเดียว แต่เรากำลังสร้างนิสัยการออมให้กับลูกโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น บอกลูกว่า  ตั้งวันนี้พ่อจะเพิ่มค่าขนมให้ลูกอีก 20 บาทนะ แต่เงินที่เพิ่มนั้นให้ลูกมาหยอดลงกระปุกทุกวัน พอครบ1เดือนได้เท่าไร ก็จะพาเค้าไปฝากเงินที่ธนาคาร
        สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ นิสัยการออม ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

Read more


เขาเก็บเงินกันอย่างไร ได้เป็นล้าน

   ท่ามกลางสถานการณ์เงินฝืดดังเอี๊ยด การออมก็ยิ่งยาก โดยเฉพาะกับลูกจ้างกินเงินเดือนประจำ
เพียงแค่ให้ผ่านพ้นไปได้แต่ละเดือนก็ยากแล้ว ส่วนใหญ่มักมีภาระหนี้ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ และหนี้บัตรเครดิตอีกไม่น้อย อย่างไรก็ตาม แต่หากคิดจะออมเงิน  แม้เงินจะฝืดอย่างไรก็ไม่ใช่เรื่องยาก ต่อไปนี้เป็นแนวคิดและวิถีการออมโลกตะวันตก  ทุกคนลองอ่านดูจะเห็นว่าหลายๆ วิธีก็ใช้ได้กับโลกตะวันออกเหมือนกัน...สำคัญว่าเราจะมีวินัยการเงินในตัวเราเองแค่ไหน?....ถ้าหากคุณคิดว่าอยากรวย อยากมีเงินเยอะๆในวันข้างหน้า  ก็อย่าขี้เกียจอ่าน...และอย่าขี้เกียจปฏิบัติ!!
เรื่องเงินๆ ทองๆ                                                                                            
อะไรกัน! ทำงานมาก็นานหลายปี   ไม่มีเงินเก็บสักบาทเลย?  เฮ้อ เหนื่อยใจจัง
ในภาวะเศรษฐกิจปกติออมก็ไม่ค่อยจะได้อยู่แล้ว แต่ มัทยา ดีจริงจริงเจ้าของหนังสือขายดี ออมน้อยก็รวยได้ จากหนังสือ Saving On A Shoestring ของ Barbara O’Neill, CFP สำนัก พิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น   มีเคล็ดลับสำหรับคนอยากออมเงินว่า การเก็บเงินไม่ต่างอะไรกับโปรแกรมลดความอ้วน  มันยากตอนเริ่มต้น และยากขึ้นไปอีกเมื่อต้องจูงใจตัวเองให้ทำต่อเนื่อง การออมถือเป็นเรื่องที่ต้องอดทนและมีวินัยอย่างมาก แต่หากคุณทำได้ ผลที่ได้รับนั้นแสนคุ้มค่า
สำคัญอยู่ที่การจัดลำดับความสำคัญและทัศนคติ แค่คุณอยากจะหยุดเรื่องแย่ๆ (ไม่มีเงินเก็บสักบาท) ให้ได้นี่ก็ดีแล้ว การ เริ่มต้นที่ดีคือการเลือกวิธีออมสักวิธี (หรือหลายวิธี) ที่ดีที่สุดสำหรับตัวคุณเอง ลองพิจารณาดู 22 เคล็ดลับของนักออมที่เขาออมกันได้ผลมาแล้ว
22 เคล็ดลับของนักออมทั่วโลก
1.จ่ายให้ตัวเองก่อนอันดับแรก กันส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่ได้รับ จะมากจะน้อยให้นำไปฝากเข้าบัญชีธนาคารทุกๆ เดือน แล้วอย่าไปยุ่งกับบัญชีนั้นเด็ดขาด ถ้าจำเป็นต้องถอนเงินส่วนนี้ ให้ถือว่ากำลังกู้เงิน เวลาคืนต้องคืนทั้งต้นทั้งดอก
2.เก็บเหรียญทั้งหลายลงกระปุก เปิดอีกบัญชีสำหรับเงินหยอดกระปุก อย่าดูถูกการสะสมเงินเล็กเงินน้อย จากก้อนเล็กๆ เติบโตกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ในอนาคต
3.เก็บเงินคืนที่ได้รับจากเรื่องต่างๆ เข้าบัญชีธนาคาร เงินรับที่เป็นเบี้ยหัวแตก เช่น เงินคืนตามโปรโมชันการซื้อสินค้า เงินคืนเบี้ยประกัน รายได้เบี้ยใบ้รายทางต่างๆ ให้รวมเป็นบัญชีเดียว แล้วทำบัญชีไว้ คุณจะได้รู้ว่า ณ สิ้นปีรายรับที่ได้จากเงินคืนพวกนี้มันมากขนาดไหน รายรับพวกนี้เป็นรายรับไม่ต้องเสียภาษี น่าเสียดายที่จะใช้ทิ้งๆ ขว้างๆ
4.จ่ายเงินค่างวดผ่อนต่างๆ เข้าบัญชีตัวเอง (แม้เมื่อผ่อนค่างวดนั้นหมดแล้ว)
คุณ กำลังผ่อนค่างวดรถ (หรือจอแบน) อยู่หรือเปล่า ถ้าใช่ ขอให้คุณผ่อนต่อไปด้วยเงินจำนวนเท่าเดิม แต่จ่ายเข้าบัญชีเงินออมของคุณเอง วิธีนี้คุณไม่เดือดร้อนเพราะคุณเคยชินกับภาระผ่อนนั้นๆ อยู่แล้ว ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขว่าคุณไม่มีภาระผ่อนอะไรใหม่ๆ เข้ามาอีก

5.หยุดนิสัยฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย รายจ่ายฟุ่มเฟือยต่างๆ ตัดทิ้งให้หมด ทำรายการขึ้นมาว่าต้องใช้จ่ายอะไรบ้าง หลายคนแปลกใจว่ายิ่งคิดยิ่งตัดได้เรื่อยๆ..คิดก่อนใช้..ตรึกตรองถึงความจำเป็นมากน้อยจัดลำดับให้ดี
6.เพิ่มผลตอบแทนการลงทุน ไม่ควรยอมรับผลตอบแทนดอกเบี้ยต่ำ เงินออมที่มีอยู่ ควรไปสร้างเงินต่อด้วยการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้ ผลตอบแทนสูงสุด ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างสมดุลในการรับความเสี่ยงด้วย
7.เป็นสมาชิกสหกรณ์ เป็นวิธีง่ายสุดของการออมเงิน พร้อมทั้งเป็นแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำอีกต่างหาก
8.ซื้อพันธบัตรรัฐบาล สำหรับประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการออกพันธบัตรประเภทต่างๆ ให้ผู้สนใจ ถ้าสนใจเข้าไปดูที่ www.bot.or.th การจำหน่ายพันธบัตรให้กับประชาชน สิ่งที่ต้องดูคือประเภทพันธบัตร อัตราดอกเบี้ย และวันจ่ายดอกเบี้ย
9.ใช้ประโยชน์จากการโอนเงินบัญชีธนาคาร เมื่อเงินเดือนถูกนำฝากเข้าในบัญชีของคุณแล้ว คุณควรให้มันอยู่ในบัญชีธนาคารให้นานที่สุด (ฮา)
10.เข้าร่วมแผนออมเงินของบริษัท แผนการออมของบริษัทเป็นแผนออมเงินแบบปลอดภาษี และนายจ้างช่วยจ่ายสมทบ เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับลูกจ้าง
11.ใช้การเสียภาษีให้เป็นประโยชน์ เรียนรู้เรื่องภาษี ประโยชน์ที่คุณไม่ควรเสียและประโยชน์ที่คุณควรได้ (ลดหย่อน)
12.เข้าโครงการออมเงินที่น่าสนใจ เปิดหูเปิดตาให้กว้าง อาจมีโปรแกรมออมที่นึกไม่ถึง
13.ส้มหล่น อย่าเพิ่งกินหมดในคราวเดียว เงิน ก้อนใหญ่ไม่มาบ่อยครั้ง เช่น มรดก รางวัลเกมโชว์ ลอตเตอรี่ เงินปันผลกองทุน ฯลฯ เงินก้อนนี้ควรนำไปใช้ในการออมหรือลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ อย่าลืมปรึกษามืออาชีพด้านภาษีด้วย
14.รัดเข็ดขัดชั่วคราว อยากได้อะไรมากๆ ลองรัดเข็มขัดในช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่น 2-3 เดือน เพื่อออมเงินให้มากกว่าปกติ เก็บเงินได้เท่าราคาของแล้วจึงค่อยกลับสู่การดำเนินชีวิตปกติ
15.ฝากเงินเข้าบัญชีส่วนบุคคลเพื่อการเกษียณอายุสัปดาห์ละครั้ง ในต่างประเทศนิยมมาก มีการทำบัญชีฝากสะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายก้อนใหญ่เพียงครั้งเดียว สำหรับไทยมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งนายจ้างจ่ายสมทบให้
16.ให้นำเงินเดือนส่วนเพิ่มไปฝาก ถ้า รับเงินเป็นรายสัปดาห์หรือราย 2 สัปดาห์ อาจเป็นได้ว่าบางเดือนคุณจะได้รับเงินมากครั้งกว่าปกติ เช่น ถ้าได้รับเงินเป็นรายสัปดาห์ จะมี 4 เดือนที่ได้รับเงินมากครั้งกว่าปกติ หรือถ้าได้รับเงินเป็นราย 2 สัปดาห์ จะมี 3 เดือนที่คุณได้เงินเดือน 3 ครั้ง ครั้งที่เกินมาให้นำไปเข้าบัญชีเงินออม (ทันที)
17.เก็บเงินเบิกรายการต่างๆ ส่วนที่เกินจากรายจ่ายจริงเข้าบัญชีเงินออม ค่าเดินทางหรือรายจ่ายอื่นที่เบิกบริษัทได้ ควรเก็บส่วนเกินจากรายจ่ายจริงไว้ หรือคุณอาจได้ค่าล่วงเวลา ควรเก็บเงินส่วนนี้มาออมเช่นกัน เช่น ได้ค่าล่วงเวลาเดือนละ 2,000 บาท ถึงสิ้นปีจะมีเงินก้อน 2.4 หมื่นบาท สามารถนำมาใช้จ่ายในกรณีพิเศษโดยไม่ต้องไปถอนเงินออมหลัก
18.ยืมมาออม บางคนประสบความสำเร็จในการกู้เงินธนาคาร แล้วนำกลับไปฝากในบัญชีเงินออมของตนเองอีกทีหนึ่ง วิธีนี้ใช้ได้ผลกับคนที่กำลังมีค่าหักลดหย่อน (เช่น กู้ซื้อบ้าน) และใช้ได้กับช่วงเวลาที่ดอกฝากมากกว่าดอกกู้ (หลังภาษี) เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันไม่ต้องพูดถึง
19.นำเงินปันผลและดอกเบี้ยไปต่อเงินโดยอัตโนมัติ เมื่อ ลงทุนหรือฝากเงินในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใด จัดการให้เงินปันผล หรือดอกเบี้ยสามารถนำฝากหรือลงทุนต่อได้อัตโนมัติ ในระยะยาวจะเห็นผลน่าพอใจ
20.ทิ้งเงินไว้ในบัญชีกระแสรายวันให้น้อยที่สุด มีคนจำนวนมากทิ้งเงินไว้ในกระแสรายวัน (เพราะปลอดดอกเบี้ย) แต่หารู้ไม่ว่ากำลังพลาดโอกาสในการทำเงิน ที่ควรก็คือมีเงินในกระแสรายวันให้พอกับรายจ่ายรายเดือน หากเงินเหลือให้โอนไปยังบัญชีเงินฝากที่มีดอกเบี้ยหรือโอนไปลงทุนใน ผลิตภัณฑ์การเงินที่มีดอกเบี้ยดีสุดในเวลานั้น
21.ใช้ประโยชน์จาก Float ความ หมายของ Float คือระยะช่วงที่ ผู้ถือเช็คได้รับเช็คไปจนกระทั่งถึงตอนที่ได้รับเงินสั่งจ่าย ตามเช็ค กล่าวคือ ช่วงที่ยังไม่ได้ถูกตัดบัญชีก็ควรแช่เงินไว้ในบัญชีเงินฝากให้นาน เท่าที่จะนานได้ ก่อนจะโอนไปเข้าบัญชีกระแสรายวันเพื่อตัดจ่ายเช็ค
22.จ่ายหนี้ให้หมด คุณอยากได้ผลตอบแทน 17-21% หรือเปล่า? อย่ามีหนี้บัตรเครดิตสิ เคลียร์หนี้บัตรให้หมด รู้มั้ยว่าถ้ายอดหนี้อยู่ที่ 2.4 หมื่นบาท ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งปีอยู่ที่ 4,000-5,200 บาท รีบเคลียร์หนี้ให้หมด ผลตอบแทนที่คุณจะได้คือไม่ต้องเสียดอกเบี้ยก้อนนี้ การปลอดหนี้บัตรจึงเป็นวิธีออมเงินก้อนใหญ่ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีหนี้ (จริงๆ) หาบัตรที่ดอกถูกสุดมาใช้
คิดและลงมือทำ!
มัท ยา กล่าวว่า ปัจจุบันมีเครื่องมือและผลิตภัณฑ์การเงินมากมายที่จะช่วยนักออม แต่อย่าลืมว่า เวลาคือสิ่งที่คุณจะต้องใช้ด้วยสำหรับการออมให้ได้เงินก้อนใหญ่ เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องรออะไรทั้งนั้น เริ่มต้นด้วยการวางแผนคร่าวๆ ถึงวิธีและขั้นตอนปฏิบัติ บันทึกรายการสิ่งที่ต้องทำ จากนั้นให้ลงมือทันที
การออมเงินขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละคน แต่ต่อให้รายได้น้อยขนาดไหน หากมีจุดเริ่มแล้วจะไปต่อได้แน่ จะมากจะน้อยแต่ก็คือโอกาสที่จะทำให้เจ้าของลุกขึ้นก้าวต่อได้เสมอ คนที่มีเงินออมเยอะอยู่แล้ว ต้องหาความรู้เพื่อบริหารเงินให้คุ้มค่า ส่วนคนมีน้อยอาจต้องประยุกต์นิดหน่อย เช่น ไม่ต้องฝากแบงก์แต่เก็บใส่กระปุกก็ได้ อย่าลืมว่าเงินก้อนนี้มันจะช่วยเราได้จริงๆมัทยา กล่าว
ส่วน ที่ว่าทำไมบางคนถึงไปไม่ถึงจุดหมาย ขณะที่บางคนทำได้สำเร็จ? ตอบไม่ยากเลย จำไว้ว่า ความคิดและความเชื่อจะกลายเป็นจริงต่อเมื่อคุณคิดและลงมือทำ!
อ่านแล้วก็ลองลงมือทำกันนะ

Read more


การลงทุนทางเลือกใหม่ของนักธุรกิจ

ทำไมต้องลงทุนในตราสาร
      ขณะที่การฝากเงินในธนาคาร ให้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยอย่างเดียว
แต่การลงทุนในตลาดตารสารจะอยู่ในรูปของดอกเบี้ย เงินปันผล และส่วนต่างของราคาซื้อขายตราสาร
        ถ้าคุณลงทุนในตราสารหนี้ คุณจะอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ออกตราสาร โดยจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย
        ถ้าคุณลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้น คุณจะอยู่ในฐานะเป็นเจ้ากิจการหรือผู้ถือหุ้น โดยจะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล
                ย้ำกันอีกครั้ง การลงทุนที่มีความเสี่ยง ยิ่งเสี่ยงมากยิ่งมีโอกาสได้เงินมาก
                เป็นที่รู้กันว่า ตราสารหนี้มีความเสี่ยงน้อยกว่าตราสารทุนหรือหุ้น
                แต่ตราสารทุนหรือหุ้นให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงมากกว่าตราสารหนี้
       นักลงทุนจะเลือก "ผลตอบแทน" หรือ "ความสบายใจ" หรือ "ผลตอบแทนผสมความสบายใจ" ขึ้นอยู่กับอุปนิสัย อายุ และปัจจัยส่วนตัวของผู้ลงทุนเอง

Read more


เรื่องของตราสาร

ตราสาร หมายถึง เอกสารทางการเงินที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ออกมาเพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุนและเปิดให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
        ตราสารมีหลายประเภท แต่ที่เราได้ยินบ่อยๆ มี 3 ประเภท
            1. ตราสารลงทุน เป็นตราสารที่กิจการออกให้แก่ผู้ถือ เพื่อนำเงินทุนไปใช้ในกิจการ โดยผู้ถือตราสารทุกคน จะมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการ รวมทั้งมีสวนได้ส่วนเสีย หรือมีสิทธิ์ในทรัพย์สินและรายได้ของกิการ และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล (Dividend) แตในทางกลับกันถ้ากิจการของคุณขาดทุน ผู้เป็นเจ้าของอาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนเลย เพราะบริษัทไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้
   ตราสารนี้ เราเรียกง่ายๆ ว่า " หุ้นทุน" หรือ " หุ้น" นั่นเอง
            2. ตราสารหนี้ ( Debt Instruments) เป็นตราสารที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ออกกับผู้ลงทุน โดยผู้ออกตราสารอยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมทำสัญญาตกลงที่จะจ่ายดอกเบี้ยเป็นงวดๆ ตราสารนี้เรามักจะได้ยินบ่อยๆว่า "พันธบัตร" และ "หุ้นกู้"
            3. ตารสารอนุพันธ์ (Derivatives) เป็นสัญญาหรือข้อตกลงที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการที่จะซื้อขายสินค้าในราคา ปริมาณและเงื่อนไขอื่นที่ตกลงกันไว้ โดยจะทำการส่งมอบสินค้ากันในอนาคต ทั้งนี้ มูลค่าของอนุพันธ์ขึ้นอยู่กับมูลค่า(ราคา) ของสินค้าที่ตกลงซื้อขาย เมื่อมูลค่า(ราคา)สินค้านั้นเปลี่ยนแปลงไป อนุพันธ์ก็จะมีมูลค่าเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

Read more

About This Blog

My Blogs

Followers

ฟังเพลง